เมนู

พระคาถานั้น มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่เทวดาทั้งหลาย แม้แสวงหาอยู่ก็ไม่
เห็นเหตุของพระขีณาสพนั้น ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ผู้ประณีต แม้ประมาณเท่า
อณู ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านประสบ คือเข้าถึงอำนาจแห่งมัจจุคือความตาย ฉะนั้น
วิสุทธิเทพทั้งหลาย จึงนมัสการ.
จบอรรถกถาสัททสูตรที่ 3

4. จวมานสูตร


ว่าด้วยเทวดาจุติมีนิมิต 5 ประการ


[261] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติจาก
เทพนิกาย เมื่อนั้น นิมิต 5 ประการ ย่อมปรากฏแก่เทวดานั้น คือ ดอกไม้
ย่อมเหี่ยวแห้ง 1 ผ้าย่อมเศร้าหมอง 1 เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ 1
ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย 1 เทวดาย่อมไม่ยินดีในทิพอาสน์ของตน 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายทราบว่า เทพบุตรนี้จะต้องเคลื่อนจาก
เทพนิกาย ย่อมพลอยยินดีกะเทพบุตรนั้นด้วยถ้อยคำ 3 อย่างว่า แน่ะท่าน
ผู้เจริญ ขอท่านจากเทวโลกนี้ไปสู่สุคติ 1 ครั้น ไปสู่คติแล้ว ขอจงได้ลาภที่ท่าน
ได้ดีแล้ว 1 ครั้นได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ขอเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี 1.
[262] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง
ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติ
ของเทวดาทั้งหลาย ? อะไรเป็นส่วนแห่งลาภทีเทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ? อนึ่ง
อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย ? พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความเป็นมนุษย์แล
เป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลาย ซึ่งเทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว
ย่อมได้ศรัทธาในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว นี้แลเป็นส่วนแห่งลาภ
ที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ก็ศรัทธาของเทวดานั้นแล เป็นคุณชาติตั้งลง มีมูล
เกิดแล้วประดิษฐานมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลก พึงนำไปไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นส่วน
แห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย.
เมื่อใด เทวดาจะต้องจุติจากเทพนิ-
กายเพราะความสิ้นอายุ เมื่อนั้น เสียง 3
อย่างของเทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดี ย่อม
เปล่งออกไปว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านจาก
เทวโลกนี้ไปแล้วจงถึงสุคติ จงถึงความ
เป็นสหายแห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิด ท่าน
เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอย่างยิ่งใน
พระสัทธรรม ศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็น
คุณชาติตั้งลงมั่น มีมูลเกิดแล้ว มั่นคงใน
พระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว
อันใคร ๆ พึงนำไปมิได้ตลอดชีพ ท่านจง
ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และ
อย่ากระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นที่ประกอบ
ด้วยโทษ กระทำกุศลด้วยกาย ด้วยวาจา
ให้มาก กระทำกุศลด้วยใจหาประมาณ
มิได้ หาอุปธิมิได้ แต่นั้นท่านจงกระทำ

บุญ อันให้เกิดสมบัติ (อุปธิ) นั้นให้มาก
ด้วยทาน แล้วยังสัตว์แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่
ในพระสัทธรรม ในพรหมจรรย์ เมื่อใด
เทวดาพึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ เมื่อนั้น
ย่อมพลอยยินดีด้วยความอนุเคราะห์นี้ว่า
แน่ะเทวดา ท่านจงมาบ่อย ๆ.

จบจวมานสูตรที่ 4

อรรถกถาจวมานสูตร


ในจวมานสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทสว่า ยทา แปลว่าในกาลใด. บทว่า เทโว ได้แก่เทวดาเหล่า
อุปบัติเทพ.
ก็เทวดามี 3 จำพวก คือ สมมติเทพ 1 อุปบัติเทพ 1 วิสุทธิ-
เทพ 1.
ในเทวดา 3 จำพวกเหล่านั้น กษัตริย์ผู้เป็นพระราชาทั้งหลายชื่อว่า
สมมติเทพ เทวดาผู้สูงกว่านั้นขึ้นเริ่มแต่เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น
ชื่อว่า อุปบัติเทพ. พระขีณาสพ ชื่อว่า วิสุทธิเทพ. แต่ในพระสูตร
ทรงประสงค์เอาเทพชั้น กามาวจร. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า บทว่า
เทโว ได้แก่ อุปบัติเทพ.
บทว่า เทวกายา ความว่า จากชุมนุมแห่งเทพ หรือจากตำแหน่ง
แห่งเทพ. อธิบายว่า จากเทวโลก. เพราะว่ากายศัพท์นี้ บ่งถึงการอยู่กัน